บทวิจารณ์

Sony ZV-E10 กล้อง Vlog ที่เป็นทุกอย่างให้เธอได้ | รีวิวโดย Mobile01

Article Categories

Mobile01 รีวิวและแชร์ประสบการณ์การทดลองใช้ฟีเจอร์ในกล้อง Sony ZV-E10 มาเช็คกันเลยว่าใช่กล้องที่ตามหาอยู่หรือเปล่า และจะใช้งานอย่างไรให้ผลงานออกมาดีที่สุด 

รูปลักษณ์ภายนอกและฟีเจอร์เด่นไม่ซ้ำใครของ ZV-E10  

ZV-E10 เป็นน้องใหม่ล่าสุดของ Sony อัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์มากมาย เป็นกล้องในตระกูล ZV รุ่นแรกที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้มาพร้อมกับเซนเซอร์ APS-C Exmor CMOS 24.2 MP ไมโครโฟนภายในแบบ 3 แคปซูลหลายทิศทาง การติดตามแบบเรียลไทม์และโฟกัสอัตโนมัติตรวจจับดวงตาแบบเรียลไทม์ที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อดวงตามนุษย์และสัตว์ ส่วนการบันทึกวิดีโอ กล้องสามารถถ่ายวิดีโอที่ 4K 30 fps ได้โดยไม่ถูกครอบ หรือ 1080p 120 fps เพื่อถ่ายสโลโมชันสุดเจ๋ง 

ZV-E10 มีไมโครโฟนบิวท์อินแบบหลายทิศทาง 3 ตัวซึ่งมีฝาครอบตาข่ายโลหะปกคลุมด้านบน นอกจากนี้ยังมีที่เสียบแฟลช hot shoe อัจฉริยะทางด้านซ้ายซึ่งสามารถใช้งานกับไฟแฟลช ทริกเกอร์ และไมโครโฟนบลูทูธ นอกจากนี้ยังสามารถติด “ม่านบังลม” เข้ากับตัวกล้องเพื่อช่วยลดเสียงลมรบกวน ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้โดยเฉพาะ 

คานชัตเตอร์และซูมออกแบบมาให้อยู่ที่ไหล่ขวาของกล้องอย่างเหมาะสมเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมสำหรับเลนส์ซูมไฟฟ้าหรือซูมภาพคมชัด / ซูมดิจิตอล แป้นหมุนเลือกโหมดการเปิดรับแสงในรุ่นก่อนอัปเกรดเป็นสวิตช์ "ปุ่มเดียว" ส่วนปุ่มบันทึกวิดิโอก็แยกออกต่างหากและเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยังมีปุ่มกดให้แบคกราวน์หลุดโฟกัส ซึ่งช่วยให้สลับระหว่างแบคกราวน์ชัดและแบคกราวน์โบเก้ได้สะดวกง่ายในพริบตา 

แม้ว่าคุณภาพเสียงของไมโครโฟนในตัวจะใช้ได้ดีระดับหนึ่งแล้ว แต่ไมโครโฟนภายนอกก็สามารถใช้งานได้ไม่ยาก เพราะ ZV-E10 มาพร้อมกับแจ็ค 3.55 มม. นอกจากนี้ยังมีแจ็คมอนิเตอร์หูฟังรองเพื่อให้ตากล้องควบคุมความไวของคลื่นวิทยุได้มากขึ้น ตามมาตรฐานทั่วไปในปัจจุบัน ZV-E10 ยังมาพร้อมกับแจ็ค USB Type-C ที่ช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลและชาร์จแบตได้ หากมีแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว ก็สามารถใช้พาวเวอร์แบงค์ชาร์จแบตและถ่ายภาพไปพร้อมกันได้ 

จากซ้ายไปขวา ZV-1, ZV-E10 และ Alpha 6400

การเปรียบเทียบลักษณะภายนอกระหว่าง ZV-1, ZV-E10 และ Alpha 6400

ในแง่ของขนาด ZV-E10 อยู่ระหว่าง ZV-1 และ Alpha 6400 ZV-E10 มีแป้นหมุนเลือกคำสั่งอยู่ด้านบนอีกแป้น ซึ่งแตกต่างจาก ZV-1 กริปจับที่ยื่นออกมายังทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานด้วยมือเดียวอีกด้วย โครงสร้างด้านหลังเหมือนกัน แม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกันเล็กน้อย 

กริปควบคุมไร้สาย 

เมื่อการตั้งค่าครั้งแรกสำเร็จ กริป GP-VPT2BT ที่รองรับบลูทูธก็พร้อมใช้งาน ใช้งานได้ทั้งกับกริปและกับขาตั้งกล้อง ส่วนหัวหมุนได้หลายมุม สามารถถ่ายภาพทั้งแนวนอนและแนวตั้งได้ไร้ปัญหากวนใจ ตัวกริปมีปุ่มสำหรับถ่ายภาพนิ่ง บันทึกวิดิโอ และซูมช่วยทำให้ใช้งานและถือได้ง่ายขึ้นไปอีก

Product Showcase Set & คุณภาพเสียงใส  

ฟีเจอร์ที่เห็นในวิดีโอนี้เรียกว่า Product Showcase Set ซึ่งหมายความว่าในโหมดนี้ ระบบโฟกัสจะให้ความสำคัญกับวัตถุที่อยู่ใกล้กล้องมากที่สุด เมื่อหันหน้าเข้าหาเลนส์ ZV-E10 จะโฟกัสที่ 'บุคคล' ที่อยู่หน้าเลนส์เป็นหลัก ในการทดสอบวิดีโอ นางแบบใช้กล้องถ่ายขณะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว แต่ระบบโฟกัสก็เร็วพอที่จะตรวจจับนางแบบได้ โฟกัสได้อย่างเรียบเนียนและสุดท้ายก็ล็อคโฟกัสให้เข้าที่โดยไม่รู้สึกว่าโฟกัสกระตุกหรือดูไม่เป็นธรรมชาติ  

เอฟเฟกต์ผิวเนียน 

ZV-E10 ทำหน้าที่ปรับผิวคนในวิดีโอให้ดูเรียบเนียนได้ดีมาก โดยเน้นที่ผิวในเฟรมเท่านั้น รายละเอียดต่าง ๆ เช่น ผม เสื้อผ้า หรือหมวกแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย

หน้าชัดหลังเบลอได้ด้วยปุ่มเดียว 

ฟีเจอร์โฟกัสพื้นหลังด้วยปุ่มเดียวมีเฉพาะใน ZV-E10 หลังจากรุ่น ZV-1 รุ่นนี้สามารถควบคุมรูรับแสงทั้งหมดได้สะดวกมากขึ้นด้วยการกดปุ่มเดียว ก่อนหน้านี้ต้องใช้แป้นหมุนเพื่อปรับรูรับแสง แม้ว่ารูรับแสงกว้างสุดของ E PZ 16-50 mm F3.5-5.6 OSS จะไม่ใหญ่เท่ากับของรุ่น ZV-1 แต่รุ่น ZV-E10 ก็มีข้อได้เปรียบตรงขนาดของเซนเซอร์ APS-C สำหรับระยะชัดลึก ซึ่งจะช่วยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ยังคงใช้งานได้จริงเมื่อต้องใช้ ISO สูง 

การติดตาม Eye AF แบบเรียลไทม์สำหรับการถ่ายวิดีโอ 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กล้อง Sony รุ่นใหม่เริ่มรองรับระบบโฟกัสใบหน้า/ตาอัตโนมัติ การติดตามแบบเรียลไทม์ไม่เพียงรองรับการถ่ายภาพนิ่งเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับการถ่ายวิดีโอด้วยโดยเฉพาะเมื่อถ่ายเซลฟี่ เพราะมีเลนส์ที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่ ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ ZV-E10 สำหรับการติดตามโฟกัสอัตโนมัติ สิ่งที่ตากล้องต้องทำคือแค่โฟกัสไปที่การแสดงออกของตัวแบบเท่านั้นเอง 

Clear Image Zoom  

ZV-E10 เก็บรายละเอียดได้มากกว่าที่คิดไว้ที่ 4K 30fps พร้อมฟีเจอร์ Clear Image Zoom ซูมภาพคมชัด 1.5 เท่า ซึ่งช่วยขยายทางยาวโฟกัสเทียบเท่าเดิมจาก 75 มม. เป็น 112.5 มม. ซึ่งช่วยได้มากในสถานการณ์ที่ผู้ใช้ไม่มีเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสที่ต้องการ

การเปรียบเทียบระบบกันภาพสั่นระหว่าง Standard กับ Active

ZV-E10 มีกลไกป้องกันภาพสั่นสองโหมด โหมดแรกคือ "standard" ซึ่งเป็นระบบป้องกันภาพสั่นของเลนส์และเลนส์ต้องมี OSS ในตัว อีกโหมดหนึ่งคือโหมด "active" ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง OSS ของเลนส์และระบบป้องกันภาพสั่นอิเล็กทรอนิกส์ของตัวกล้อง ดังนั้นเมื่อเลือกโหมด "active" ผู้ใช้จะเจอเอฟเฟกต์ชัตเตอร์หมุนแน่นอนเมื่อถ่ายวิดิโอซึ่งจะถูกครอบประมาณ 1.3 เท่าด้วย ฟีเจอร์นี้สามารถเปิดหรือปิดได้ตามดุลยพินิจของผู้ใช้ วิดีโอทดสอบแสดงความเสถียรของภาพเมื่อนางแบบถือกล้องถ่ายเซลฟี่และช็อตที่ตากล้องถือกล้องถ่ายขณะนางแบบเดิน 

วิดีโอ S&Q 

Sony ZV-E10 รองรับสโลโมชันเพียงประเภทเดียวเท่านั้นคือ "S&Q" เป็นหนึ่งในสามโหมดในปุ่ม "MODE" ตรงด้านบนของกล้อง โหมดภาพนิ่งช่วยให้ถ่ายภาพนิ่งตามการตั้งค่าที่ต้องการโดยปรับความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง ในทางกลับกัน โหมดภาพยนตร์จะตั้งค่ากล้องให้ถ่ายทำด้วยการจดจำฉากอัตโนมัติ ในโหมด "S&Q" สามารถตั้งค่าอัตราเฟรมเพื่อให้ได้เอฟเฟกต์ไทม์แลปส์หรือสโลโมชัน ตัวอย่างเช่น 1fps เป็นการถ่ายภาพเพียงหนึ่งภาพต่อวินาที ดังนั้นยิ่งระยะเวลาการถ่ายภาพนานเท่าใด ก็ยิ่งเหมาะสำหรับการบันทึกภาพแบบไทม์แลปส์มากขึ้นเท่านั้น วิดีโอนี้ถ่ายที่อัตราเฟรม 1080p 120fps และตั้งค่าให้เล่นที่ 24 เฟรมต่อวินาที ผู้ใช้จะได้วิดีโอ 1080p ที่ช้ากว่า 5 เท่าได้เลยหลังจากถ่ายเสร็จ S&Q รองรับ AF-C และโฟกัสดวงตาอัตโนมัติระหว่างถ่ายวิดิโออีกด้วย 

อ่านรีวิวกล้อง ZV-E10 ต้นฉบับของ Mobile01 ได้ที่นี่ บทรีวิวต้นฉบับเป็นภาษาจีนตัวเต็ม และแปลเป็นภาษาไทยเพื่อจุดประสงค์ของบทความนี้ 

Article Theme

We would like to request access to your Geolocation to provide you with a customised experience. Please know that you can withdraw your consent at any time via your browser settings.